- Details
- Written by Super User
- Hits: 2914
ข้อบังคับสมาคม
ข้อบังคับของ
สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย
หมวดที่ 1
ความทั่วไป
ข้อ 1 ชื่อของสมาคม
1.1 สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย” เรียกและเขียนชื่อย่อเป็นภาษาไทยว่า “ส.พ.ผ.ท.” ภาษาอังกฤษว่า “The Thai Perioperative Nurses Association”ชื่อย่อ
“TPNA”
ข้อ 2 เครื่องหมายของสมาคม
2.1 เป็นรูปวงรีขอบนอกส่วนบนมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย” และขอบล่างเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Thai Perioperative Nurses Association” วงรอบในเป็นลายกนกแสดงความเป็นไทย มีอักษรย่อ “TPNA” และมีมือทั้งสองขณะรับ-ส่งเครื่องมือผ่าตัด
ข้อ 3 ที่ตั้งสำนักงาน
ห้องชุดเลขที่ 1/237 ชั้นที่ 1 อาคาร 1 อาคารชุดสีลม แกรนด์เทอเรส
แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ข้อ 4 วัตถุประสงค์
สมาคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
4.1 ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิกและผู้ร่วมวิชาชีพ
4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกเกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการ การวิจัยและการปฏิบัติการพยาบาลทางห้องผ่าตัด ให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
1. ส่งเสริมและรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด เพื่อสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นแก่สังคม
4.4 เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่งานการพยาบาลห้องผ่าตัด และเสนอผลงานทางวิชาการของสมาชิก
4.5 เป็นแหล่งรวมความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการ การให้คำแนะนำปรึกษาในการปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดแก่สมาชิกและผู้สนใจ
หมวด 2
สมาชิกภาพ
ข้อ 5 ประเภทสมาชิก
สมาชิกของสมาคมมี 3 ประเภท คือ
5.1 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา หรือผู้มีอุปการะคุณที่คณะกรรมการกลางมีมติเห็นชอบเชิญเข้ามา
5.2 สมาชิกสามัญ ได้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการพยาบาลระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจาก ทุกสถาบัน ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพการพยาบาลเป็นสมาชิกของสภาการพยาบาล มีประสบการณ์ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลห้องผ่าตัดทุกสาขา
1. สมาชิกสมทบได้แก่
5.3.1 พยาบาลวิชาชีพสาขาอื่น ๆ ที่สนใจงานการพยาบาลห้องผ่าตัด
5.3.2 พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ตลอดจนผู้สนใจงานการพยาบาลห้องผ่าตัด หรือบุคคลที่คณะกรรมการกลางพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ 6 การสมัครเป็นสมาชิก
บุคคล ผู้มีความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ หรือ สมทบให้ยื่นใบสมัครตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการสมาคมกำหนดโดย ยื่นต่อเลขานุการสมาคมเมื่อเลขานุการ สมาคมได้รับใบสมัครและตรวจสอบแล้วเห็นว่าบุคคลผู้มีความประสงค์สมัครเข้า เป็นสมาชิกมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ และไม่เป็นบุคคลที่เคยถูกลบชื่อออกจากการเป็นสมาชิกของสมาคม หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย อันเป็นข้อรังเกียจของสังคม ให้เลขานุการสมาคมนำเสนอให้คณะกรรมการกลางสมาคมพิจารณารับบุคคลนั้นเป็น สมาชิกของสมาคมต่อไป
การชำระค่าสมาชิก
6.1 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องชำระค่าสมาชิก
6.2 สมาชิกสามัญ ชำระค่าสมาชิก จำนวนเงิน 550 บาท ตลอดชีพ
6.3 สมาชิกสมทบ ชำระค่าสมาชิก จำนวนเงิน 350 บาท ตลอดชีพ
ข้อ 7 สิทธิของสมาชิก
สมาชิกของสมาคมมีสิทธิดังนี้
7.1 ประดับเครื่องหมายของสมาคมในโอกาสอันควร
7.2 สมาชิกทุกประเภทมีสิทธินำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมเมื่อผ่านการตรวจอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว
7.3 สมาชิกทุกประเภทมีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคมต่อคณะกรรมการกลางหรือในที่ประชุมใหญ่
7.4 สมาชิกทุกประเภทมีสิทธิ สอบ-ถาม การบริหารงานต่างๆของสมาคม
7.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิรับประโยชน์ทุกอย่างที่สมาคมจัดขึ้น ตามเงื่อนไขและข้อบังคับ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลางที่สมาคมแต่งตั้งในแต่ละโครงการ
7.6 สมาชิกสามัญตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปอาจร่วมกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคม โดยจัดทำเป็นหนังสือมีลายลักษณ์อักษรให้คณะกรรมการกลางพิจารณาเมื่อคณะ กรรมการ กลางพิจารณาแล้วต้องแจ้งผลให้ผู้เสนอทราบโดยเร็ว
7.7 สมาชิกสามัญ มีสิทธิเลือกตั้งหรือลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการของสมาคม
7.8 สมาชิกสามัญ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคมและออกเสียงได้หนึ่งคะแนนเสียง จะออกเสียงแทนกันไม่ได้
ข้อ 8 หน้าที่ของสมาชิก
สมาชิกของสมาคมมีหน้าที่ดังนี้
8.1 ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของสมาคม
8.2 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเพื่อเป็นที่นับถือของสมาชิกตลอดจนบุคคลทั่วไป
8.3 เสนอแนะ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของสมาคมเพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
8.4 เมื่อสมาชิกเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ยศ บรรดาศักดิ์ การย้ายที่อยู่หรือสถานที่ทำงาน ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เพื่อแก้ไขทะเบียนสมาชิกของสมาคมให้เป็นปัจจุบัน
8.5 สมาชิกต้องช่วยกันรักษาทรัพย์สินและชื่อเสียงของสมาคมและผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ข้อ 9 การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
สมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงจากเหตุต่อไปนี้
9.1 ตาย
9.2 ลาออก โดยแจ้งความประสงค์การลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อนายทะเบียน เลขานุการนำเรื่องเสนอคณะกรรมการกลาง เพื่ออนุมัติ สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้ลาออก
9.3 ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดได้กระทำโดยประมาท
9.4 ต้องคำพิพากษาของศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ วิกลจริตหรือล้มละลาย
9.5 ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียทางวิชาชีพและสมาคม ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับโดยเจตนา เมื่อได้รับคำเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจากเลขานุการ โดยมติของคณะกรรมการกลางแล้วยังกระทำอีก ให้เลขานุการเสนอชื่อสมาชิกผู้นั้นต่อคณะกรรมการกลางในที่ประชุมใหญ่ประจำปี เพื่อขออนุมัติลบชื่อออกจากสมาชิกภาพ มตินี้ต้องกระทำโดยวิธีลับมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมในวันนั้น เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงให้นายทะเบียนลบชื่อออกจากทะเบียน
หมวด 3
คณะกรรมการสมาคม
ข้อ 10 คณะกรรมการกลาง
ให้มีคณะกรรมการสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย คณะหนึ่งชื่อว่า “คณะกรรมการกลาง” มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานของสมาคม
ข้อ 11 การสรรหาคณะกรรมการกลาง
11.1 คณะกรรมการกลางประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คนไม่มากกว่า 20 คน รวมประธานเขตทุกเขต ในจำนวนนี้เป็นนายกสมาคม 1 คน
11.2 นายกสมาคมได้จากการเลือกตั้งจากประธานเขต หรือสมาชิกสามัญเป็นผู้เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ หรือเลือกโดยส่งทางไปรษณีย์
11.3 กรรมการอื่น ๆ ได้จากนายกสมาคมแต่งตั้ง หรือสมาชิกสามัญเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ เพื่อดำรงตำแหน่งอุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม วิชาการ วารสาร ต่างประเทศ หารายได้ และอื่น ๆ
ข้อ 12 การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการกลาง
นายก สมาคมจะดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ นับจากวันที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ยกเว้นกรณี นายกสมาคมที่อยู่ปฏิบัติงานครบ 2 วาระ แล้วยังหาผู้มาดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมไม่ได้ให้นายกสมาคมคนเดิมอยู่ ปฏิบัติรักษาการณ์ต่อไปจนครบวาระและสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการชุดเดิมได้
ข้อ 13 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกลาง
13.1 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งปวง การเงินและทรัพย์สินของสมาคม
13.2 พิจารณาร่างระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งของสมาคม
13.3 บริหารกิจการสมาคมให้เป็นตามวัตถุประสงค์ มติของที่ประชุมและอำนาจอื่นๆ ที่ข้อบังคับกำหนดไว้
13.4 ประชุมคณะกรรมการกลางตามวาระเพื่อปรึกษาหารือและดำเนินการตามมติ
13.5 เสนอความคิดเห็น ริเริ่มหรือทักท้วงกิจกรรมต่างๆ
13.6 พิจารณาแต่งตั้ง ถอดถอนที่ปรึกษา กรรมการกลาง อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและสมาชิกของสมาคม
13.7 ติดต่อประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
ข้อ 14 การพ้นหน้าที่ของคณะกรรมการกลาง
14.1 พ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการกลางของสมาคม
14.2 ตาย
14.3 ลาออก และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการกลางของสมาคมแล้ว
14.4 ขาดจากสมาชิกภาพ
14.5 ขาดการประชุมติดต่อกันเกิน 4 ครั้งโดยไม่แจ้งเหตุและที่ประชุมคณะกรรมการกลาง มีมติเห็นชอบให้พ้นหน้าที่
14.6 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากมติที่ประชุมของคณะกรรมการกลาง (มติคะแนนเสียงต้องไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการกลางที่เข้าประชุม)
14.7 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ถอดทอนทั้งคณะหรือรายบุคคล ( มติคะแนนเสียงต้องไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญ จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน จะออกเสียงแทนกันไม่ได้ )
ข้อ 15 การแต่งตั้งกรรมการที่ว่าง
ใน กรณีที่ตำแหน่งกรรมการสมาคมว่างก่อนกำหนด/ตามวาระ ถ้านายกสมาคมพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ให้อุปนายกทำหน้าที่แทนนายกสมาคมจนหมดวาระ ส่วนกรรมการตำแหน่งอื่นๆ ให้แต่งตั้งจากสมาชิกสามัญที่เห็นสมควรเข้าเป็นกรรมการสมาคมแทนตำแหน่งที่ ว่าง และให้กรรมการที่เข้ารับตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่าที่วาระของผู้ที่ตนแทน
ข้อ 16 การประชุมของคณะกรรมการกลาง
16.1 คณะกรรมการกลางจะต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อย 4 เดือน / ครั้ง กรรมการกลางสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน มีสิทธิร้องขอให้มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมได้ เพื่อพิจารณาข้อเสนอใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก นายกสมาคมจะต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตามคำร้องขอนั้นภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับคำร้องขอดังกล่าว
16.2 การประชุมของคณะกรรมการกลางทุกครั้งต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งหรือเจ็ดคนจึงถือว่าครบองค์ประชุม
1. มติของที่ประชุมคณะกรรมการกลางให้ถือมติเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เว้นแต่ได้มีบัญญิติไว้เป็นอย่างอื่น
2. การออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมคณะกรรมการให้ใช้วิธีชูมือหรือลงคะแนนลับถ้ามีกรรมการ 3 คนร้องขอ
16.3 ให้นายกสมาคมเป็นประธานการประชุม ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกเป็นประธานการประชุมแทน
16.4 ให้เลขานุการสมาคมเป็นเลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการสมาคม
ข้อ 17 ที่ปรึกษาและอนุกรรมการต่างๆ
ที่ปรึกษา และอนุกรรมการที่นายกสมาคมหรือคณะกรรมการกลางแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระเช่นเดียวกับคณะกรรมการกลาง
หมวด 4
การบริหารงานสมาคม
ข้อ 18 การบริหารงานสมาคม
สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย แบ่งการบริหารงานเป็น 5 เขต แต่ละเขตมีประธานเขตรับผิดชอบ มีเขตต่างๆ ดังนี้
เขต 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เขต 2 ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขต 4 ภาคเหนือ
เขต 5 ภาคใต้
ข้อ 19 การสรรหาประธานเขต
ประธาน เขตได้จากการเลือกตั้งจากสมาชิกภายในเขตโดยคณะกรรมการสรรหาของเขตนั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานเขต จะต้องส่งประวัติพร้อมรูปถ่ายมายังสมาคม
ข้อ 20 อำนาจหน้าที่ของประธานเขต
ประธานเขตมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
20.1 ประธานเขตจะดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ ยกเว้นกรณีครบ 2 วาระแล้วยังหาผู้ดำรงตำแหน่งไม่ได้ ให้ประธานเขตคนเดิมรักษาการณ์ไปจนครบวาระ
20.2 ประธานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการเขตให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามวาระของประธานเขตนั้นๆ
20.3 ช่วยนายกสมาคมในการดำเนินกิจการของสมาคม
20.4 วางระเบียบ วิธีดำเนินงานตามข้อบังคับของคณะกรรมการกลาง
20.5 รับผิดชอบการดำเนินกิจการภายในเขตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
20.6 จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการเขต เพื่อปรึกษาหารือการดำเนินงานของเขตและของสมาคม
1. เป็นผู้แทนของสมาคมในการติดต่อกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และบุคคลทั่วไปในเขตรับผิดชอบ
2. รายงานผลการประชุมหรือการดำเนินงานให้คณะกรรมการกลางทราบเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจ
ข้อ 21 การพ้นจากตำแหน่ง ของประธานเขตและคณะกรรมการเขตให้นำความในข้อ 14,15,16,และ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด 5
การประชุมใหญ่สมาคม
ข้อ 22 ให้นายกสมาคมจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหนึ่งครั้ง ตามวัน เวลาและ สถานที่ซึ่งคณะกรรมการกลางของสมาคม ได้กำหนด
ข้อ 23 ก่อนการประชุมใหญ่สามัญ หรือ วิสามัญ เลขานุการสมาคมจะต้องแจ้งวันนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบถึงวัน เวลา สถานที่ประชุม ตลอดจนส่งรายงานการประชุมและสิ่งจำเป็นอื่นๆ เช่น งบดุลและบัญชีรายละเอียดทางการเงินประจำปี
โดยทางไปรษณีย์ก่อนวันประชุมไม่ น้อยกว่า 7 วัน
ข้อ 24 ในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาชิกสามัญมีอำนาจดังต่อไปนี้
24.1 เลือกตั้งนายกสมาคม คณะกรรมการกลาง ผู้สอบบัญชี ประธานเขต
24.2 อนุมัติงบดุลและงบการเงิน
24.3 พิจารณาเรื่องใดๆ ที่คณะกรรมการสมาคมนำเข้าปรึกษา
24.4 พิจารณาความคิดเห็นของสมาชิกซึ่งได้ทำเป็นหนังสือยื่นไว้ต่อเลขานุการสมาคม ก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 3 วันหรือพิจารณาความคิดเห็นของสมาชิกที่จะเสนอขณะประชุม
24.5 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
ข้อ 25 การประชุมใหญ่สามัญ หรือ วิสามัญ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง หรือ ห้าสิบคนของสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมไม่ครบองค์ประชุมให้ คณะกรรมการของสมาคม เรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุมยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่เกิด ขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ 26 การประชุมวิสามัญ อาจมีได้ในกรณีต่อไปนี้
26.1 คณะกรรมการกลางสมาคมโดยมติเสียงข้างมากไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการกลางทั้งหมดร้องขอ
26.2 สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน ลงชื่อร้องขอ เมื่อนายกสมาคมได้รับคำร้องขอดังกล่าวข้างต้น ให้นายกสมาคมจัดให้มีการประชุมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ 27 ในการประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญมีสิทธิออกเสียงได้คนละ 1 คะแนนเสียง จะแต่งตั้งตัวแทนออกเสียงแทนกันไม่ได้ การออกเสียงใช้วิธีเปิดเผยโดยยกมือเว้นแต่สมาชิกที่เข้าประชุมเกินกว่า 1 ใน 3 ร้องขอให้ลงคะแนนลับ
ข้อ 28 การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมลงคะแนนเสียงชี้ขาด
ข้อ 29 ในการประชุมใหญ่ ให้นายกสมาคมหรืออุปนายกเป็นประธานการประชุม ถ้าบุคคลทั้งสองไม่อยู่หรือไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกประธาน ก่อนการประชุมจะเกิดขึ้น
หมวด 6
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ 30 หนังสือสัญญาหรือนิติกรรมใดๆ ที่ ได้กระทำในนามของสมาคมจะมีผลผูกพันสมาคมก็ต่อเมื่อหนังสือสัญญาหรือนิติกรรม นั้นๆ ไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ข้อบังคับ ระเบียบและมติของสมาคม พร้อมกับมีนายกสมาคมและกรรมการอีกอย่างน้อยสองนายลงนามพร้อมกันกับประทับตรา สมาคม
ข้อ 31 เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบการเก็บรักษาเงิน เอกสารการเงินและทรัพย์สินของสมาคม มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 10,000 ( หนึ่งหมื่นบาท )จำนวนที่เกินกว่านี้จะ ต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวย
ข้อ 32 ในการสั่งจ่ายเงินของสมาคมจาก บัญชีเงินฝากในธนาคาร นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายในนามของสมาคมได้ไม่เกินครั้งละ 10,000 ( หนึ่งหมื่นบาท ) ถ้าเกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกิน 100,000 (หนึ่งแสนบาท) จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการกลางสมาคม ถ้าเกินหนึ่งแสนบาทจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 33 ในการลงนามสั่งจ่ายเงินหรือรับเงินจะต้องมีนายกสมาคมและเหรัญญิกเป็น ผู้ลงนามสั่งจ่ายหรือรับเงินร่วมกันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลางในกรณี ที่นายกสมาคมและเหรัญญิกไม่ อย ู่หรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ให้อุปนายกและเลขานุการเป็นผู้ลงนามสั่งจ่าย รับแทน
ข้อ 34 ให้ฝ่ายบัญชีและเหรัญญิกจัดทำบัญชีทางการเงินและงบดุลของสมาคมพร้อมด้วยหลัก ฐานและใบสำคัญในการรับ – จ่ายเงิน ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชี
หลักฐานและใบสำคัญในการรับ – จ่ายเงินทุกฉบับ เหรัญญิกจะต้องเก็บไว้ให้เรียบร้อยครบถ้วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อการตรวจสอบ
ข้อ 35 ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคมหนึ่งคนให้คณะ กรรมการกลางของสมาคมตรวจสอบบัญชีและงบดุลซึ่งผ่านการตรวจสอบและได้รับการ รับรองจาก ผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคมก่อนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
หมวด 7
การเลิกสมาคมและการชำระบัญชี
ข้อ 36 การเลิกสมาคม สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย จะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ มติให้เลิกจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญ ทั้งหมดที่เข้าประชุม ( จะออกเสียงแทนกันไม่ได้ ) ยกเว้น การเลิกเพราะเหตุทางกฎหมาย
ข้อ 37 การชำระบัญชีเมื่อสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด เงินหรือทรัพย์สินของสมาคมที่เหลือจากการชำระบัญชีที่เรียบร้อยแล้วให้ตก เป็นของสภากาชาดไทย
หมวด 8
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือคัดค้านข้อบังคับ
ข้อ 38 การแก้ไขข้อบังคับ ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยมติที่ประชุมใหญ่เท่านั้นจะต้องมี สมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่า 100 คน ของสมาชิก สามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อย กว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าประชุม
ข้อ 39 การคัดค้านข้อบังคับผู้ ใดจะคัดค้านข้อบังคับให้ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเลขานุการก่อนการประชุม ไม่น้อยกว่า 3 วัน ร่างข้อบังคับที่จะแก้ไขเพิ่มเติมให้ปิดประกาศ ไว้ที่สำนักงาน ของสมาคมก่อนการ ประชุมไม่น้อยกว่า 15 วัน
หมวด 9
บทเฉพาะกาล
ข้อ 40 ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้ ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน และออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมและประกาศจัดตั้งสมาคมในราชกิจจา นุเบกษา
ข้อ 41 เมื่อสมาคมได้รับอนุญาตให้ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากนายทะเบียนสมาคมแล้วให้ถือว่าผู้เริ่มก่อตั้งและ สมาชิกของชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทยทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคม พยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ตามข้อบังคับของสมาคม
ข้อ 42 ทรัพย์สินของชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทยที่เหลืออยู่เท่าใดโอนให้แก่สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย
ข้อ 43 การบริหารกิจการของสมาคม ให้คณะกรรมการกลางชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามกฎหมายและข้อบังคับต่อไปจนครบ วาระเท่าที่เหลืออยู่
ข้อ 44 เมื่อคณะกรรมการฯ ในข้อ 43 ครบวาระ การบริหารกิจการสมาคมในวาระถัดไป ให้ประธานชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทยที่ได้รับการสรรหาแล้ว ดำรงตำแหน่งนายก สมาคม และเลือกกรรมการของสมาคมชุดใหม่ เพื่อนำรายชื่อคณะกรรมการกลางของสมาคมชุดนี้ไปจดทะเบียนต่อนายทะเบีงยนท้อง ที่ และปฏิบัติหน้าที่บริหารสมาคมตามข้อบังคับต่อไป
( นาง อุไรวรรณ อเสกขสกุล )
ผู้จัดทำข้อบังคับ